What is micro:bit
- microbit
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 การแค่ให้เด็กท่องๆ จำๆ ตัวอักษรตามตำราแล้วไปสอบนั้นคงไม่พอที่จะเอาตัวรอดอีกต่อไป สำหรับเด็กในยุคนี้การศึกษาด้วยแนวทางใหม่ที่เรียกว่า STEM ถือเป็นแนวทางการศึกษาที่จะถูกคิด และบูรณาการศาสตร์จาก 4 แขนง อันได้แก่ วิทยาศาตร์(Science) เทคโนโลยี(Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์(Mathematics) เพื่อจะทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ รู้จักประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปใช้งานให้เหมาะสม และเข้าใจในนวัตกรรมที่เกิดขึ้น
การเขียนโค้ดหรือโปรแกรมมิ่ง (Programming) เป็นอีกหนึ่งทักษะที่จะกระตุ้นให้เด็กๆ เกิดการเรียนรู้ STEM โดยในบทความนี้จะแนะนำการเขียนโค้ดผ่าน micro:bit ซึ่งเป็นบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ได้รับการออกแบบพัฒนาขึ้นมาโดย BBC และความร่วมมือของพันธมิตรในการพัฒนาชุดเครื่องมือสำหรับการเขียนโค้ดด้วย micro:bit นอกจากนั้นยังได้มีการแจกจ่าย micro:bit จำนวน 1 ล้านชิ้นให้กับโรงเรียนทั่วประเทศอังกฤษเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนการเขียนโค้ดให้กับเด็กๆ
องค์ประกอบของ micro:bit
micro:bit
ขอแยกอธิบายแต่ละด้านของ micro:bit แล้วกัน
- ด้านหน้า
-
ปุ่ม A และ B
เราสามารถเขียนโค้ดเพื่อรับการกดปุ่ม เพื่อสั่งให้บอร์ดทำอย่างอื่นต่อได้
-
ไฟ LED ขนาด 5x5
ใช้สำหรับแสดงผลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร กราฟ หรือภาพ โดยไฟจะสว่างเป็นสีแดง นอกจากนั้นเรายังสามารถควบคุมระดับความสว่างของหลอดไฟได้ด้วย
-
GPIO Pins
เป็นพินที่ใช้สำหรับต่อวงจรภายนอก ถ้าดูจากภาพแล้วจะประกอบไปด้วยพินขนาดใหญ่จำนวน 3 พิน ระหว่างพินจะมีพินขนาดเล็กรวมกันทั้งหมด 20 พิน โดยแต่ละพินสามารถใช้รับ/ส่งสัญญาณได้ทั้งแบบแอนะล็อก (Analog) และดิจิทัล (Digital)
-
3V Pin
พินสำหรับต่อไฟขนาด 3 โวลต์ เพื่อเป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ที่มาต่อ
-
GND Pin
พินสำหรับต่อกราวด์
สำหรับพินทั้งหมดที่อยู่บนบอร์ดจะด้วยกันทั้ง 25 พิน
- ด้านหลัง
-
ตัวรับส่งสัญญาณคลื่นวิทยุ (Radio) และบลูทูธพลังงานต่ำ (Bluetooth Low Energy ~ BLE)
micro:bit สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านคลื่นวิทยุ และสามารถใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์มือถือหรือแทบเล็ตผ่านบลูทูธ
-
หน่วยประมวลผล
เป็นศูนย์กลางในการประมวลผล หรือเรียกได้ว่าเป็นสมองของบอร์ด micro:bit นั้นเอง
-
เซนเซอร์วัดความเข้มสนามแม่เหล็ก (Magnatic Sensor) หรือเข็มทิศ
นั้นทำให้เราสามารถเขียนโค้ดเพื่อใช้สำหรับบอกทิศที่อยู่ตรงหน้าเราได้
-
เซนเซอร์วัดความเร่ง (Accelerometer Sensor)
การตรวจจับการเคลื่อนที่ การตก การสั่น หรือการเอียงของบอร์ด ก็นำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมอุปกรณ์อื่นๆ ได้ไม่ยาก
-
Pins
-
Micro USB
เชื่อมต่อระหว่างบอร์ดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้สำหรับโหลดโปรแกรม และจ่ายไฟให้กับบอร์ด
-
หลอดไฟแสดงสถานะ
เมื่อมีต่อกับแหล่งจ่ายไฟ หรือขณะทำการโหลดโปรแกรม
-
ปุ่มรีเซท
เราสามารถกดปุ่มรีเซท เพื่อให้โปรแกรมเริ่มทำงานใหม่อีกครั้ง
-
ช่องต่อไฟเลี้ยง
ใช้เชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟขนาด 3 โวลต์
-
USB Inferface Chip
เป็นชิพสำหรับควมคุมการเชื่อมต่อกับ USB ในการโหลดโค้ดลงบอร์ด
เครื่องมือสำหรับเขียนโค้ด Microsoft MakeCode
Microsoft MakeCode เป็นเครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับ micro:bit โดยรองรับการเขียนโค้ดทั้งในรูปแบบบล็อก (Block) ซึ่งจะคล้ายกับการต่อตัวต่อแบบลากวาง เหมาะสำหรับเด็กๆ ที่เริ่มต้นเขียนโค้ด และรองรับการเขียนโค้ดแบบข้อความ (Text-based) ซึ่งมีด้วยให้เลือกใช้ด้วยกัน 2 ภาษาเลยทีเดียว นั้นก็คือ JavaScript และ Python
สำหรับในบทความนี้ก็น่าจะทำให้เราเริ่มรู้จักกับ micro:bit และเครื่องมือสำหรับเขียนโค้ดกันไปแล้ว ในบทความหน้าเราจะมาลองมือเขียนโค้ด และรันโค้ดของเรากัน อย่าลืมรอติดตามกันนะครับ