เลือกหุ่นยนต์การศึกษาให้เหมาะกับเด็กๆ ได้อย่างไร

ในยุคปัจจุบันการเรียนรู้ของเด็กนั้นแตกต่างๆ จากสมัยก่อนมากเลยทีเดียว การเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับ STEAM (Science, Technology, Engineering, Art และ Mathermatics) ก็มีความทันสมัย และเข้าถึงได้ง่ายขึ้นผ่านการเรียนรู้จากหุ่นยนต์ (Robot) อีกทั้งยังช่วยสงเสริมความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ และแก้ไขปัญหาด้วย ในฐานะผู้ปกครองเราจะเลือกหุ่นยนต์ที่เหมาะสมเพื่อให้ลูกของเราได้เรียนรู้และศึกษาได้อย่างไร เมื่อในท้องตลาดนั้นมีหุ่นยนต์มากมาย และหลากหลายประเภทเหลือเกิน วันนี้เราจะมาลองทำความรู้จักกับประเภทของหุ่นยนต์การศึกษากันหน่อยซึ่งโดยหลักๆ แล้วจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันคือ

การจำแนกประเภทหุ่นยนต์นี้อ้างอิงจากลักษณะของหุ่นยนต์ รูปแบบการสอน และวิธิการเขียนโค้ดเป็นหลัก

  1. Physical Coded Robots หุ่นยนต์ประเภทนี้จะเน้นที่การเขียนโค้ดโดยไม่ใช้หน้าจอ หรือจะเรียกอีกอย่างก็คือ Unplug Coding โดยรูปร่างของหุ่นยนต์จะออกไปในเชิงของเล่น น่ารักๆ เหมาะกับเด็กช่วงอายุ 4 - 9 ขวบ ลักษณะของการสอนก็จะให้เด็กๆ ได้เรียนรู้พื้นฐานการเขียนโค้ด ไม่ว่าจะเป็นการคำสั่ง การทำงานตามลำดับ การคิดแยกแยะปัญหาแบบง่ายผ่านกิจกรรมต่างๆ (Play-based learning) ตัวอย่างหุ่นยนต์ประเภทนี้ก็ได้แก่ Bee-bot, Cubetto หรือ Matatalab เป็นต้น

cubetto Cubetto

  1. Introductory Programmable Robots หุ่นยนต์ประเภทนี้อัพเกรดขึ้นมาจากประเภทแรก เริ่มเน้นเรื่องคอนเซปต์การเขียนโค้ดมากขึ้นผ่านตัวโปรแกรม ซึ่งก็จะเริ่มใช้หน้าจอไม่ว่าจะผ่านทาง Controller, Tablet หรือ Computer แต่ยังคงความสนุกสนานผ่านการกิจกรรม หรือเกมส์ (Just for fun and learning to code) ลักษณะหุ่นยนต์ก็ยังคงคล้ายๆ กับประเภทแรก เช่น Botley หรือ Dash เป็นต้น

    dash Dash

  2. Computer Programmable Robots แน่นอนว่าหุ่นยนต์ประเภทนี้ก็จะอัพเกรตขึ้นมาจากประเภทที่สอง โดยหุ่นยนต์เริ่มมีเซนเซอร์อื่นๆ เข้ามาผสมด้วย ทำให้หุ่นยนต์นั้นมีความสามารถมากขึ้น น้องๆ ก็จะได้เรียนรู้เทคโนโลยีและวิธีการเขียนโค้ดที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การเขียนบังคับให้หุ่นยนต์เดิน หลบหลีกสิ่งกีดขวาง หรือเคลื่อนไหวเมื่อมีเสียงก็ได้ การเขียนโค้ดก็จะอยู่ในรูป block-based และ text-based ขึ้นอยู่กับระดับการเรียนการสอน สำหรับรูปแบบการเรียนก็จะมุ่งเน้นผ่านกิจกรรม การออกแบบความคิดสร้างสรรค์เป็นโปรเจ็ค รวมถึงการแข่งขันในระดับต่างๆ หุ่นยนต์ประเภทนี้ได้แก่ Edison หรือ Sphero Bolt เป็นต้น

    edison Edison

  3. Kit-based Robots หุ่นยนต์ประเภทนี้เด็กๆ จะชอบกันมากเพราะตัวหุ่นยนต์จะแยกชิ้นส่วนมา และจะต้องประกอบร่างขึ้นมาให้สำเร็จ ซึ่งทำให้เด็กรู้สึกเหมือนได้สร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาด้วยตัวเค้าเอง โดยหุ่นยนต์จะมีเซนเซอร์ หรือมอเตอร์ขับเคลื่อนมาด้วย ทำให้เมื่อการเขียนโค้ดสามารถไปควบคุมสั่งงานให้หุ่นยนต์มีการขยับ หรือเคลื่อนที่ตามที่ต้องการ การเขียนโค้ดก็จะผ่าน Tablet ซะเป็นส่วนใหญ่ หุ่นยนต์ประเภทนี้ก็ได้แก่ LEGO Mindstorms EV3 หรือ VEX เป็นต้น

    mindstorm LEGO Mindstorm EV3

ทั้งหมดนี้ก็เป็นประเภทของหุ่นยนต์การศึกษา ซึ่งแต่ละประเภทก็มีจุดเด่นกันคนละแบบขึ้นอยู่กับวัย และทักษะที่อยากจะส่งเสริมให้กับเด็กๆ

References